6/recent/ticker-posts

รีวิว Like a Dragon: Infinite Wealth บทสรุปของคิริวมังกรแห่งโดจิมะ

 
ในที่สุดเกมในซีรี่ส์ Like a Dragon หรือยากูซ่าที่เรารู้จักกันดีได้เดินทางมาถึงภาคที่ 8 กันแล้ว โดยในภาคนี้ใช้ชื่อว่า Infinite Wealth (ความมั่งคั่งที่ไม่มีสิ้นสุด) ไม่ว่าตัวเกมจะเปลี่ยนระบบการต่อสู้ไปเป็น Turn-based RPG ตั้งแต่ภาคที่ 7 แล้วตัวเกมก็ยังได้รับความนิยมจากผู้เล่นอยู่เหมือนเดิมไม่ว่าระบบจะเปลี่ยนไปก็ตามด้วยเนื้อหาที่อัดแน่นน่าติดตามและตัวเกมมีมินิเกมมากมายที่ให้ผู้เล่นได้เล่นหลากหลายทำให้ตัวเกมนั้นไม่น่าเบื่อและ ภาค 8 นี่ก็เช่นกันกับเนื้อหาที่จัดเต็มอัดแน่นไปด้วย เควสหลัก เควสรอง มินิเกม ถ้าจะเล่นให้ครบมีไม่ต่ำกวา 200 ชั่วโมงขึ้นไปแน่นอน


เนื้อเรื่องโดยย่อ (มีสปอยบางส่วนหากใครไม่อยากอ่านเนื้อเรื่องให้ข้ามส่วนนี้ไป)

Like a Dragon: Infinite Wealth เป็นเนื้อเรื่องต่อจาก Yakuza: Like a Dragon โดยยังนำเสนอผ่านตัวเอกอย่าง Ichiban Kasuga ที่ได้กลายเป็น Hero ของ Yokohama หลังจากเรื่องราวที่เกิดในภาคก่อน ตอนนี้ตัว คาสุกะ เองได้ทำงานเป็นพนักงานกินเงินเดือนธรรมดาในบ้านเกิดตัวเอง และก็ได้เกิดเหตุการณ์มากมายที่ทำให้ คาสุกะ ได้ถูกไล่ออกจากที่ทำงาน จากข่าวในช่องยูทูปเบอร์เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านมา และยังส่งผลให้เพื่อนอีก 2 คน Koichi Adachi และ Yu Nanba ที่เบื่อหลังยังทำงานผิดกฎหมายอยู่ลับ ๆ ได้รับผลกระทบเช่นกัน

คาสุกะจึงจำเป็นต้องเข้าสู่การเป็น ยากุซ่า Seiryu Clan อีกครั้งหลังจากไม่มีทางเลือกอีกต่อไป และแล้วทาง Seiryu Clan ได้ติดต่อมาหา คาสุกะ และ บอกว่าแม่แท้ ๆ ของเขา ได้ปรากฏตัวที่ฮาวาย ทำให้คาสุกะได้บินไปเพื่อเจอกับแม่ที่พลัดพรากกันมานาน แต่ก็เกิดเหตุวุ่นวายตามมาอีกมากมาย ซึ่งผลสุดท้ายกลายเป็นโดนขโมยจนหมดตัวแล้วฟื้นมาในสภาพเปลือยเปล่าที่ชายหาดและคาสุกะก็ได้รับการช่วยเหลือจาก Kiryu Kazuma หลังจากช่วยเหลือกันไปสักพักกลับกลายเป็นว่าทั้งคู่มีเป้าหมายเดียวกันคือตามหา Akane แต่ไม่ใช่แค่ทั้งคู่เพราะองค์กรอาชญากรรมในฮาวายก็จ้องจะเล่นงานเธอเช่นเดียวกัน

ระบบการต่อสู้

ก่อนหน้านี้ในภาค 7 (Yakuza: Like a Dragon) หนึ่งสิ่งที่ผู้เล่นไม่ชอบก็คือไม่สามารถคุมเพื่อน ๆ ในปาร์ตี้เราได้ และ การโจมตี บางสกิลหรือท่าโจมตีต้องอาศัยการยืนแต่ละตำแหน่งมาเกี่ยวข้อง ทำให้ใน Like a Dragon: Infinite Wealth ผู้ทำระบบมีการปรับปรุงการต่อสู้ให้มีมิติมากขึ้นโดยการให้คนในปาร์ตี้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในพื้นที่ที่เรากำหนดได้เพื่อให้การโจมตีส่งผลมากที่สุด ซึ่งพื้นที่ที่เราควบคุมได้ก็จะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราเพิ่มเลเวลของตัวละคร และเรายังสามารถโจมตีให้เกิดการกระทบกันได้ด้วยเพื่อให้ ศัตรู อีกตัวหนึ่งหรือเป็นกลุ่มได้รับผลของการโจมตีนั้นด้วย

และสิ่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั้นเรียกว่า Hype Meter ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ infinity บนสมาชิกภายในทีม และเรากับเพื่อนร่วมทีมก็จะสามารถใช้ท่าคู่กันได้ซึ่งนำไปใช้กับการต่อสู้กับ BOSS ได้ดีมาก ๆ เพราะบางคู่เป็นการโจมตีเป็นมุมกว้างทำให้วงดาเมจโดนศัตรูรอบได้ข้างด้วย เพื่อเป็นการลดจำนวนได้รวดเร็ว และหากจำกันได้ตัวละครคิริวจะมีการเปลี่ยน สไตล์ การต่อสู้ได้สามแบบ แบ่งตามสีได้ สีฟ้า สีแดง และ สีเหลือง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป เช่น สีแดงเน้นโจมตีได้สองรอบ สีฟ้า สมดุล แต่หนัก และ สีเหลืองทำลายการ์ดศัตรู เป็นต้น และความพิเศษของ คิริวนั้น จะมีระบบ "ฮีต" เหมือนภาคปกติของเค้าเมื่อเรากดใช้เราจะสามารถบังคับตัวละครได้แบบ Action เหมือนภาค ที่เล่นเป็นเกม Action ได้อีกด้วย

ระบบอาชีพ

Infinite Wealth ได้เพิ่มระบบ Job มาดังนี้ surfing Aquanaut, nunchaku-wielding  Action Star, Fake Murasame-wielding Samurai, maracas-holding Geodancer, diligent Housekeeper หรือแม้กระทั่ง gun-slinging Desperado ซึ่งอาชีพทั้งหมดมีจุดเด่นทั้งสกิล ท่าโจมตี วิธีการเล่นแตกต่างกันออกไปทั้งหมด ข้อดีของภาคนี้คือการเปลี่ยนอาชีพเราไม่ต้องฟาร์มแต้มอีกต่อไป เพียงแต่ต้องใช้เงินเท่านั้น ผู้เลนต้องเล่นดำเนินเนื่องเรื่องไปถึงตอนที่ 5 ถึงจะทำการเปลี่ยนอาชีพได้ และถ้าใครที่พลาดในการพรีออเดอร์ ซึ่งทำให้พลาดสองอาชีพในเกมก็คือ นักอเมริกันฟุตบอล และ นักเทนนิส ก็สามารถซื้อได้ในเกมด้วยราคา 129 บาท


ระบบแผนที่ในเกม

Like a Dragon: Infinite Wealth มีการดำเนินเรื่องในเมือง Honolulu (โฮโนลูลู) ในฮาวายซึ่งมีขนาดใหญ่มาก โดยใหญ่กว่าประมาณ 3 เท่าหากเทียบกับภาค Yokohama ใน Yakuza: Like a Dragon ทำให้ผู้เล่นสามารถดื่มด่ำกับการเดินสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง แม้ว่าผู้เล่นจะไม่สามารถเข้าออกบ้านตึกสูง ๆ ในแผนที่ได้ แต่ว่าตัวแผนที่ได้ซอยสถานที่ย่อย ๆ ให้ได้แวะสำรวจเยอะมาก ๆ ทำให้รู้ได้ว่าทางผู้พัฒนาไม่ได้สักแต่สร้างแผนที่ใหญ่ ๆ มาแล้วไม่สนใจรายละเอียดของฉากแม้แต่น้อย ภาพทิวทัศน์ เสียงประกอบในฉากไม่ว่าจะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเสียงบทสนทนาพูดคุยของผู้คนเมือง (ภาคนี้ไม่ว่าเล่นภาษาอะไร เสียงพูดของคนฮาวายจะเป็นอังกฤษเสมอ) แต่ผู้รีวิวนั้นปรับเป็นภาษาญี่ปุ่นทำให้ถ้าไม่ใช่คัตซีนสำคัญจริง ๆ ตัวละคร NPC ที่มาพูดคุยกับเรายังมีเสียงเป็น ญี่ปุ่นอยู่ถึงแม้ว่าหน้าตาจะเป็นฝรั่งก็ตาม


มินิเกม

สิ่งที่ขาดไม่ได้ประจำซีรี่ส์ Like a Dragon ก็คือ มินิเกมที่จะสร้างความสนุกปนความฮา และความกาว ให้กับผู้เล่นได้อมยิ้มกันตลอดทั้งเกม และมินิเกมบ้างอย่างก็ใช้ในการหาเงินได้อย่างดีอีกดัวย ไม่ว่าจะเป็น ปั่นจักรยานส่งของ สตั้นแมน แข่งรถมินิ 4WD และอีกมากมายให้เราได้เล่นกัน อีกหนึ่งอย่างที่ผู้รีวิวชอบมาก ๆ ก็คือ มินิเกมที่เราต้องรวบรวมเพื่อน ๆ เพื่อนสร้างแก๊งของเราขึ้นมาแล้วไปสู้กับ NPC ในเมือง และเมื่อเราชนะก็จะได้ตัวละครนั้นมาเป็นพวก รวมถึงที่เด่น ๆ คือระบบกาชาเปิดตัวละคร และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือมินิเกมจีบสาวในเกมและในภาคนี้เรายังสามารถจีบน้อง Ella Freya ซึ่งเราคุ้นหน้าคุณตาเธอจากการเป็นต้นแบบของตัวละคร Ashley จาก RE4 กันอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมี Dondoko Island: Dondoko Island มินิเกมที่ Ichiban อยู่ในเกาะของตัวเอง เหมือนเกมเอาชีวิตรอดผสมบริหารการจัดการที่เริ่มตั้งแต่ล่าสัตว์ สร้างสิ่งปลูกสร้าง บริหารจัดการเกาะเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว พอได้เล่นมินิเกมตัวนี้ผู้เล่นยังรู้สึกสงสัยว่าทีมพัฒนาไปเอาพลังมาจากไหนถึงได้ทำออกมาได้เยอะขนาดนี้ เพราะตัวเกมแทบจะแยกออกมาเป็นอีกเกมหนึ่งได้เลย จนกระทั่งในบางครั้งอดคิดไม่ได้เลยว่ากว่าจะเล่นมินิเกมได้หมด จะต้องกินเวลาชีวิตไปอีกเท่าไหร่

สรุป

Like a Dragon: Infinite Wealth ก็ยังเป็นเกมในซีรี่ส์ Like a Dragon ที่ยังคงความน่าสนใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่ดราม่าและเข้มข้น และภาคนี้ก็เช่นเคยผู้สร้างได้นำเสนออะไรหลาย ๆ อย่างที่เยอะมากไม่ว่าจะเป็น มินิเกม เนื้อเรื่อง ระบบใหม่ๆ เลยทำให้ Like a Dragon: Infinite Wealth เป็นเกมที่ยังคงความสนุกและคุ้มค่าที่คุณจะเสียเวลาเล่นมันอย่างแน่นอน

ข้อดี

เนื้อหาในเกมที่เยอะมากๆไมใางว่าจะเป็นเนื้อเรื่องหลัก มินิเกมมากมาย และเนื้อเรื่องย่อยอีกมากมาย

เนื้อเรื่องหลักที่ทำมาให้น่าติดตาม และบางซีนก็ซึ้งกินใจ (มีน้ำตาไหลกันแน่นอน)

แผนที่ในเกมที่มีขนาดใหญ่และใส่รายละเอียดมาอย่างครบถ้วนไม่ได้ทำมาเล่นๆ

ระบบการต่อสู้ที่ได้ถูกต่อยอดจากภาคก่อน

ระบบอาชีพใหม่ๆที่เสริมเข้ามาและมีความเป็น RPG และมีความหลากหลาย

ข้อเสีย

New Game+ ไม่มีในเกมแบบ standard

NPC ที่พูดภาษาญี่ปุ่น ตอนที่ไม่ใช่ฉากสำคัญ

คะแนรวม 9.7/10

ท้ายนี้ทางทีมงาน P4G ขอขอบคุณทาง SEGA สำหรับตัวเกมเพื่อการรีวิวมา ณ ที่นี้

รีวิว By Tamahomme


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น